• ปรึกษาหมอมะเร็งฟรี
  • วิธีการรักษาแบบใหม่
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • เรื่องราวของผู้ป่วย
หน้าหลัก / ข่าวสารมะเร็ง

เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเมื่อกล่าวถึงมะเร็งต่อมลูกหมาก

None

Author:NoneFrom:FUDA

  เรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเมื่อกล่าวถึงมะเร็งต่อมลูกหมาก

  จากผลการวิจัยทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่าโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมากนั้นสร้างความกังวลทั้งทางร่างกายและจิตใจให้ผู้ป่วยเพศชายเป็นอย่างมาก ในบรรดาโรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมากนั้น โรคมะเร็งต่อมลูกหมากคือโรคที่ทำให้เกิดเนื้องอกที่บริเวณต่อมลูกหมากของเพศชาย จากข้อมูลพบว่าสามารถพบผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ 9.92 คน จากผู้คน100,000คน ซึ่งพบได้มากในกลุ่มประชากรเพศชายอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และยังแสดงให้เห็นว่าผู้ชายที่อายุสูงขึ้นยิ่งมีโอกาสพบเจอโรคได้มากขึ้น จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในประเทศจีนนั้นอยู่ในอันดับที่ 6 จากบรรดาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากทั่วโลก มีผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากสูงถึง 60,000 คนในแต่ละปีและยังพบได้มากขึ้นตามประชาชนที่มีอายุสูงขึ้นเรื่อยๆ

  

zero.jpg

  ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าหากสามารถตรวจเจอโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้นในขณะที่ก้อนเนื้อยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยได้มากกว่า 99เปอร์เซนต์ อย่างไรก็ตาม ส่วนมากแล้วเมื่อตรวจพบโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะพบว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะกลางหรือระยะสุดท้ายแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่ยากต่อการรักษา อีกทั้งยังสร้างความเสียหายทางร่างกายอย่างมากให้กับคนไข้ ดังนั้นการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากให้กับผู้คนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก

  กลุ่มผู้เสี่ยง

  

onee.jpg

  กลุ่มคน: คนผิวสีมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสูงถึง 60%

  ประวัติในครอบครัว: หากผู้ป่วยมีประวัติคนในครอบครัว เช่น บิดา พี่ชายหรือน้องชายเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีโอกาสทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่มีประวัติในครอบครัวมากถึง 2 เท่า

  อายุ: ในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 15 คน สามารถพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก 1 คน

  โภชนาการ: ร้บประทานอาหารที่มีกรดไขมันความอิ่มตัวสูงนอกจากจะทำให้อ้วน ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย

  ฮอร์โมนเพศชายสูง: ผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาด้วยฮอร์โมนสามารถป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

  เซลล์ต่อมลูกหมากเกิดความผิดปกติ (Prostatic intraepithelial dysplasia): 50% ของผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปสามารถตรวจพบ Prostatic intraepithelial neoplasia (PIN) ซึ่งก็คือเซลล์ที่มีความผิดปกติ

  การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม: ยีนส์บางชนิดมีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น BRCA1 และ BRCA2

  ผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปีและครอบครัวมีประวัติโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  - ผู้ชายอายุมากกว่า 50 ปี

  - ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีที่มีค่า PSA>1μg/L


  อาการของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นอย่างไร?

  

twooo.jpg

  1、ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่พบอาการเด่นชัดใดๆในระยะเริ่มต้น นอกจากในการตรวจร่างกายและพบว่าค่า PSA สูงกว่าปกติ หรือทำการตรวจต่อมลูกหมากผ่านทางรูทวารและพบว่าต่อมลูกหมากมีความผิดปกติ

  2、เมื่อก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการด้านการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย หรือมีอาการปัสสาวะเร่งรีบเป็นต้น

  3、หากก้อนเนื้อไปเบียดอวัยวะส่วนอื่นเช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือสำไล้ตรงเป็นต้น อาจทำให้เกิดอาการอื่นๆ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระยาก ปวดที่บริเวณอวัยวะเพศหรือปัสสาวะเป็นเลือดเป็นต้น

  4、หากมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณต่อมน้ำเหลืองจะมีอาการบวมที่แขนขาด้านล่าง

  5、ในระยะสุดท้ายที่มีการแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย เช่นหากมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณกระดูกจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด กระดูกแตกหัก หรือก้อนเนื้อไปเบียดกระดูกสันหลัง หากมีการแพร่กระจายไปยังปอดจะทำให้เกิดอาการไอและแน่นหน้าอก

  6、นอกจากนี้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายยังมีอาการโดยทั่วไปเช่น ไม่อยากอาหาร นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายเป็นต้น ในกรณีรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะโลหิตจางได้อีกด้วย

  ความแต่งต่างระหว่างโรคต่อมลูกหมากโตและโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้ในผู้ป่วยชายวัยสูง ซึ่งเป็นลักษณะการเพิ่มตัวของจำนวนเซลล์สโตมัลและเซลล์เยื่อบุผิว ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของปัญหาทางเดินปัสสาวะอุดตันในผู้ป่วยสูงวัย เนื่องจากอาการดังกล่าวนั้นใกล้เคียงกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะเริ่มต้น จึงทำให้เกิดการเข้าใจผิดในการวินิจฉัยโรคได้ ถ้าอย่างนั้นเราจะแยกแยะโรคต่อมลูกหมากโตกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างไร?

  1、ตรวจค่ามะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)

  

fuda12_677232.jpg

  PSA เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่หลั่งจากท่อเซลล์ต่อมลูกหมาก โรคต่อมลูกหมากโตและโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นจะทำให้ค่าPSA สูงขึ้น แต่ต่อมลูกหมากโตนั้นจะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย ถ้าหากสูงมากกว่า 10ng/ml และค่า FPSA สูงขึ้นจะพิจราณาเบื้องต้นว่ามีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งจะต้องเข้ารับการตรวจขั้นต่อไป

  2、การตรวจต่อมลูกหมากผ่านทางรูทวาร

  

fourr.jpg

  หากเป็นโรคต่อมลูกหมากโต เวลาที่คลำโดนจะมีลักษณะผิวเรียบเนียน หากเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากก้อนเนื้อจะมีลักษณะแข็ง ไม่เรียบเนียน และผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บ

  3、ตรวจด้วยเครื่องถ่ายภาพ

  

five5.jpg

  ในตรวจอัลตราซาวน์ การตรวจด้วยเครื่อง CT หรือ MRI รูปภาพที่ออกมาจะพบว่าโรคต่อมลูกหมากโตและโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น โรคต่อมลูกหมากโตจะมีการขยายตัวของเนื้อเยื่อที่ใหญ่ขึ้น คลื่นความถี่จะเสมอหรือไม่เสมอกัน แต่โรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นจะมีคลื่นความถี่ที่ผิดปกติหรือต่ำมาก

  4、การตรวจชิ้นเนื้อ

  การเจาะชิ้นเนื้อและนำไปตรวจพยาธิวิทยาจะสามารถแยกแยะโรคต่อมลูกหมากโตกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างแม่นยำ หากผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ควรพิจารณาเข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อ:

  -พบก้อนเนื้อที่มีลักษณะน่าสงสัยขณะทำการตรวจผ่านรูทวาร ไม่ว่าค่า PSA จะอยู่ในระดับใดก็ตาม

  -พบสิ่งผิดปกติที่น่าสงสัยในระหว่างการตรวจอัลตราซาวน์หรือ MRI ไม่ว่าค่า PSA จะอยู่ในระดับใดก็ตาม

  -PSA 4-10ng/ml, f/t (free/totalPSA) อยู่ในระดับที่น่าสงสัยหรือPSAD (PSA ความหนาแน่น) อยู่ในระดับที่น่าสงสัย


  ข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อยที่ควรรู้

  1. รับประทานมะเขือเทศเป็นประจำสามารถป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้?

  

sixtomoto.jpg

  ไลโคปืนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกายได้ ในอินเตอร์เน็ตมีบทความที่กล่าวว่าการรับไลโคปีนเข้าสู่ร่างกายนั้นสามารถช่วยป้องกันการเกิดของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ในความจริงแล้ว จากการศึกษาโดยการตรวจเลือดผู้ชายกว่า 3,000 คนหลังได้รับไลโคปีนพบว่าไลโคปีนนั้นไม่มีได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่แน่ชัด

  2. ค่า PSA สูงจะต้องเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแน่ๆ?

  ไม่เสมอไป นอกจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคต่อมลูกหมากอักเสบ โรคต่อมลูกหมากโตหรือแม้กระทั่งการนวดต่อมลูกหมากสามารถทำให้ค่า PSA สูงขึ้นได้เช่นกัน หรือผู้ป่วยบางท่านเกิดมาก็มีค่าPSA ที่สูงมากกว่าปกติอยู่แล้ว ดังนั้นค่า PSA เป็นเพียงตัวช่วยให้แพทย์ทำการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจชิ้นเพื่อประเมินว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่

  3. แอนโดรเจนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก?

  แอดโดนเจนไม่มีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายไม่สามารถเข้าสู่นิวเคลียส และกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ได้ จึงไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์มะเร็งได้ และปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าระดับฮอร์โมรเพศชายนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  เราจะสามารถป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างไร?

  - หลีกเลี่ยงอาการมัน รับประทานอาหารประเพศถั่วและผัก และดื่มชาเขียวเยอะๆ

  - สร้างความสมดุลทางโภชนาการ ไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์มากเกินไป โดยเฉพาะสัตว์เนื้อแดง เช่นเนื้อหมู และเนื้อวัว

  -ไม่สูบบุหรี่และจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอร์

  - ออกกำลังเป็นประจำ

  - รับประทานอาหารเสริมจำพวกซิลีเนียมและวิตตามินดี วิตตามินอีในปริมาณที่เหมาะสม

  -การรักษาโรคต่อมลูกหมากทั่วไปเช่น ต่อมลูกหมากอักเสบ ต่อมลูกหมากโตในระยะเริ่มต้นสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้


  • โรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ
  • โรงพยาบาลมะเร็งที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI ระดับนานาชาติ
  • ศูนย์ฝึกอบรมการรักษาด้วยความเย็นแห่งเอเชีย
  • ศูนย์ชีวการแพทย์กว่างโจวสถาบันวิทยาศาสตร์จีนและเวชศาสตร์ปริวรรตสถาบันสุขภาพ