• ปรึกษาหมอมะเร็งฟรี
  • วิธีการรักษาแบบใหม่
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • เรื่องราวของผู้ป่วย
หน้าหลัก / ข่าวสารมะเร็ง

อย่าเข้าใจผิดว่ามะเร็งตับอ่อนเป็น “โรคกระเพาะ” จงระวังหากคุณมีอาการต่อไปนี้

None

Author:NoneFrom:FUDA

  หากพูดถึงโรคมะเร็งตับอ่อน คนทั่วไปอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับโรคชนิดนี้มากนัก แต่โรคมะเร็งตับอ่อนนั้นถือว่าเป็นโรคที่มีความร้ายแรงอย่างมากต่อระบบย่อยอาหาร อัตราการพบเจอโรคมะเร็งตับอ่อนนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่น โดยจะนับอยู่ในลำดับที่ 6-7 เท่านั้น แต่โรคมะเร็งตับอ่อนนั้นมีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยอยู่ในอันดับแรกจากโรคมะเร็งทั้งหมด และมีอัตราการยืดชีวิตของผู้ป่วย 5 ปีเพียงแค่ 5% เท่านั้น

  วันนี้พวกเรามาทำความรู้จักกับโรคมะเร็งตับอ่อนกันสักหน่อยจะดีกว่า

  ตับอ่อนขนาดเล็กที่มีหน้าที่การทำงานที่ยิ่งใหญ่

  ตับอ่อนนั้นซ่อนอยู่ในช่องท้องด้านบนซ้ายในส่วนที่ลึกที่สุดของร่างกายมนุษย์ ซ่อนตัวอยู่ด้านหลังกระเพาะอาหาร มีลักษณะคล้ายฟองปลาที่เป็นวงรี ตับอ่อนนั้นอยู่ใกล้กับม้าม ตับ ถุงน้ำดี และลำไส้ส่วนต้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากในการตรวจพบ ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในระบบย่อยอาหารเป็นอันดับที่ 2 ของร่างกายมนุษย์ เป็นอวัยวะที่เป็นทั้งต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่อ หน้าที่การทำงานของต่อมไร้ท่อคือการถ่ายโอนอินซูลินต่อมไร้ท่อและกลูคากอนเข้าสู่เลือด เพื่อควบคุมความสมดุลของน้ำตาลในเลือด ส่วนหน้าที่หลักของต่อมมีท่อก็คือในส่วนนี้จะประกอบไปด้วยอัลคาไลน์คาร์บอเนตน้ำที่ตับอ่อนซึ่งมีเอนไซม์และของเหลวที่ตับอ่อนซึ่งมีเอนไซม์ย่อยอาหารต่างๆที่ใช้ในการทำให้ความแข้มข้นของกรดในกระเพาะลดลง ย่อยน้ำตาล โปรตีน และไขมัน

  

fuda27_878242.jpg


  ตับอ่อน กระเพาะอาหาร

  ลำไส้ส่วนต้น

  ลำไส้ใหญ่


  เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่ค่อยพบอาการมากนัก อีกทั้งยังสามารถตรวจพบโรคได้ช้า อัตราการผ่าตัดค่อนข้างต่ำ การลุกลามของโรคค่อนข้างไว อัตราการเสียชีวิตสูง รวมถึงผลลัพธ์ของการรักษาแบบการฉายแสงและการให้คีโมนั้นไม่มีผลอย่างชัดเจน ทำให้โรคมะเร็งตับอ่อนนั้นถูกเรียกว่า “ราชาแห่งโรคมะเร็ง”

  ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งตับอ่อน

  1.พันธุกรรม

  ผลการศึกษาการระบาดวิทยายืนยันว่าโรคมะเร็งตับอ่อนนั้นสามารถพบได้ในกลุ่มบุคคลครอบครัวเดียวกัน จากการวิจัยพบว่า ประมาณ 10-20% ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมักมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมาก่อน ความเสี่ยงในการตรวจพบโรคของกลุ่มญาติผู้ป่วยจะสูงขึ้น 3-5 เท่า หากมีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน 2 คนขึ้นไป ญาติลำดับแรกของผู้ป่วยจะมีโอกาสตรวจพบเจอโรคได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 18 เท่า

  2. การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล

  มูลนิธิการวิจัยมะเร็งโลกและสถาบันมะเร็งอเมริกาสรุปผลการวิจัยเรื่องอาหารของโรคมะเร็งตับอ่อนไว้ว่า การรับประทานเนื้อสัตว์เนื้อแดง เช่น หมู วัว และแกะเป็นต้น หรืออาหารที่มีไขมันสูงและอาหารที่ให้พลังงานสูงนั้นอาจจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอ่อน และการรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ถึง 33-50% นอกจากนี้ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำนั้นมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟมากถึง 4 เท่า

  3.การสูบบุหรี่และดื่มสุรา

  ปัจจุบันการสูบบุหรี่นั้นเป็นสาเหตุเดียวที่ได้รับการยืนยันว่าทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อน บุคคลที่สูบบุหรี่จะเกิดการเจริญที่มากเกินของเซลล์ท่อตับอ่อน และเกิดการเปลี่ยนแปลงและผิดปกติของนิวเคลียสเป็นต้น ดังนั้นอัตราการสูบบุหรี่จึงมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดของโรคมะเร็งตับอ่อน นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าการดื่มสุราเป็นประจำในระยะเวลานานสามารถเพิ่มโอกาสความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนได้

  4.ปัจจัยจากโรค

  จากผลการวิจัยพบว่าโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรังและโรคนิ่วในท่อตับอ่อนที่เกิดขึ้นบ่อยอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งตับอ่อน

  กลุ่มคนที่มีอัตราการความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนสูง

  

tubb3.jpg


  กลุ่มคน 6 ประเภทที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนสูง

  -    ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอย่างฉับพลัน

  -    ผู้ป่วยที่มีแผลจากการเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนปลาย

  -    ผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง

  -    บุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน

  -    ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงตามที่ได้ระบุไปข้างต้น

  -    ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และมีอาการผิดปกติตรงบริเวณท้องส่วนบน


  อย่าเข้าใจผิดคิดว่าป่วยเป็น “โรคกระเพาะ”

  อาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งตับอ่อนนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งโดยหลักแล้วจะเป็นอาการทางระบบย่อยอาหาร เช่น รู้สึกไม่สบายที่ช่องท้องส่วนบน แน่นท้อง เจ็บปวด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงหรือท้องผูกเป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่ได้เข้ารับการตรวจเบื้องต้น และโรคดังกล่าวก็พบได้ค่อนข้างยากในการตรวจผ่านเครื่องเอกซเรย์ ดังนั้นการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับอ่อนในระยะเริ่มต้นนั้นเป็นไปได้ค่อนข้างยาก และมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็น “โรคกระเพาะ”

  

tubb2.jpg


  ดังนั้นเราควรระมัดระวังสัญญาณอันตรายดังต่อไปนี้:

  อาการเจ็บปวดหรือไม่สบายช่วงท้องส่วนบน

  อาการเจ็บปวดบริเวณช่องท้องนั้นเป็นอาการของโรคมะเร็งตับอ่อนระยะเริ่มต้น ส่วนมากผู้ป่วยจะมีอาการจุกเสียด หดเกร็ง อาการดังกล่าวจะเป็นอย่างต่อเนื่องหรือแย่ลงเรื่อยๆ นอกจากนี้อาการปวดยังสามารถลุกลามไปยังด้านหลังได้อีกด้วย ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดขึ้นเมื่อนอนลงในเวลากลางคืน และจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้ลุกขึ้น นั่ง เอนตัวไปข้างหน้าหรือเดิน หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร การรับประทานยาโรคกระเพาะอาหารจะช่วยควบคุมอาการดังกล่าวได้ แต่ถ้าหากผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน การรับประทานยานั้นจะไม่สามารถควบคุมอาการได้ โดยทั่วไปแล้วจะเป็นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีเวลาที่แน่นอน

  อาหารไม่ย่อย และพบไขมันในอุจจาระจำนวนมาก

  ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาการคลื่นไส้อาเจียน การเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย สูบผอม ไม่อยากอาหารเป็นอาการ 4 อย่างที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนส่วนปลายระยะเริ่มต้น 10% ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนในระยะแรกมักมีอาการไม่ย่อย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดลง หักพบว่าตนเองมีอาการอาหารไม่ย่อย หลังเข้าตรวจกระเพาะด้วยการส่องกล้องแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ ควรสงสัยและระมัดระวังการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อน

  ดีซ่าน

  อาการดีซ่านส่วนใหญ่เกิดการจากอุดตันที่มากขึ้น มักมาพร้อมกับอาการคันตามผิวหนัง ปัสสาวะและอุจจาระสีเข้ม

  น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างฉับพลัน

  ปัจจัยบางอย่างที่หลั่งออกมาจากมะเร็งตับอ่อนอาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือทำทายการทำงานของเบต้าเซลล์ จนทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ดังนั้นบุคคลที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และเป็นโรคเบาหวานโดยไม่สามารถทราบสาเหตุอย่างแน่ชัดได้ควรสงสัยและระมัดระวังการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อน

  การป้องกันมะเร็งตับอ่อนในระยะเริ่มต้น

  ผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคมะเร็งตับอ่อนส่วนมากจะตรวจพบในระยะกลางหรือระยะสุดท้ายแล้ว การตรวจพบโรคในระยะดังกล่าวนั้นไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการรักษาอย่างยากลำบาก อีกทั้งผลการรักษามักจะไม่ได้ผลดีมากนัก อัตราการรอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนที่มีขนาดน้อยกว่า 2 ซม. จะอยู่ที่ประมาณ 20-40% ส่วนผู้ป่วยที่มีขนาดน้อยกว่า 1 ซม. จะอยู่ที่ประมาณ 67% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่ามะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้ายประมาณ 3-5% ดังนั้นการตรวจเจอโดยไว และรีบทำการรักษาถือเป็นกุญแจสำคัญในการรักษา

  การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตับอ่อนนั้นสามารถทำได้โดยการงดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอร์ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์สูง และอาหารที่มีไขมันสูง ควรรักษาความสมดุลของการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม รับประทานอาหารประเภท ทอด ปิ้ง ย่างให้น้อยลง และเพิ่มการรับประทานธัญพืชและผักผลไม้มากขึ้น

  ในขณะเดียวกันควรเพิ่มการตรวจโรคมะเร็งตับอ่อนให้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง อัลตราซาวด์คือขั้นตอนการตรวจแรกที่ใช้ในการตรวจโรคมะเร็งตับอ่อน การตรวจอัลตราซาวด์นั้นนอกจากจะไม่สร้างความเสียหายให้แก่ร่างกายแล้วยังมีค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก ซึ่งสามารถบ่งบอกความผิดปกติของตับอ่อนได้ อย่างไรก็ตามบางครั้งการตรวจอัลตราซาวด์อาจเห็นได้ไม่ชัดเนื่องจากเกิดการรบกวนของก๊าซในระบบทางเดือนอาหาร ดังนั้นจึงควรพิจารณาเข้ารับการตรวจ CT Scan หรือ MRI เพื่อเพิ่มความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการตรวจ MRI ที่จะสามารถตรวจเจอก้อนเนื้อขนาดเล็กบริเวณตับอ่อนได้


  • โรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ
  • โรงพยาบาลมะเร็งที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI ระดับนานาชาติ
  • ศูนย์ฝึกอบรมการรักษาด้วยความเย็นแห่งเอเชีย
  • ศูนย์ชีวการแพทย์กว่างโจวสถาบันวิทยาศาสตร์จีนและเวชศาสตร์ปริวรรตสถาบันสุขภาพ