• ปรึกษาหมอมะเร็งฟรี
  • วิธีการรักษาแบบใหม่
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • เรื่องราวของผู้ป่วย
หน้าหลัก / ข่าวสารมะเร็ง

ช่วงตอบคำถามจากผู้เชี่ยวชาญ : ทำไมมะเร็งหลังโพรงจมูกถึงไม่เหมาะกับการผ่าตัด

None

Author:FUDAFrom:FUDA

  เร็วๆนี้ นายหวงชาวอินโดเนเซียได้มารับการรักษาที่โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้า ในสังกัดของมหาวิทยาลัยจี้หนาน ครึ่งปีก่อน เขามีอาการ“หูอื้อ”ข้างซ้าย จึงได้ไปตรวจที่โรงพยาบาล เป็นไปตามคาด พบว่าเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูก ดังที่ผู้เชี่ยวชาญมักเตือนว่า หากมีอาการเสียงในหูอื้อ การมองเห็นแย่ลง เป็นต้น จงระวังว่า นี้อาจเป็นสัญญาณแรกของการเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูก นายหวงคนอินโดเนเซียเชื้อสายจีนวัย 59 ปี บริหารร้านอาหารจีนที่เมืองเมดาน ราวประมาณครึ่งปีที่แล้วเริ่มได้ยินอะไรไม่ค่อยชัด บางครั้งก็จะมีอาการหูอื้อไปเลย นายหวงกล่าวว่า “รู้สึกเหมือนมีสำลีมาอุดหูไว้เลย” เขาได้เดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาลในมาเลเซีย พบว่ามีก้อนเนื้อขนาด 3.0*1.8 ซม. ที่โพรงจมูกด้านซ้าย หลังจากการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าเป็นมะเร็งที่โพรงจมูก ระยะ 3เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว นายฮวางได้เดินทางมาที่โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้า ในสังกัดของมหาวิทยาลัยจี้หนานและได้เข้ารับการรักษากับผู้อำนวยการโรงพยาบาลกิติมศักดิ์ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญศัลกรรมด้านศรีษะและคอ และศาสจราจารย์เจินจงยวน

  ศ.เจินจงยวนกล่าวว่า มะเร็งโพรงจมูกเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้มากในประเทศจีน และแต่ละปีพบผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงจมูกมีจำนวนถึง 40% ของทั้งโลก ซึ่งพบได้มากที่มลฑลกว่างตุ้งและเลียบชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ จึงถูกเรียกว่า”มะเร็งกว่างตุ้ง” เสียเลย อาการของโรคมะเร็งโพรงจมูกที่จะพบบ่อยคือ คัดจมูก เลือดกำเดาไหล หูอื้อ มีเสียงในหู ได้ยินอะไรไม่ค่อยชัด ศ. เจินจงยวนกล่าวเตือนว่า ถ้าพบว่าคัดจมูกแบบหาสาเหตุไม่ได้ มีเลือดกำเดาไหล โดยเฉพาะสีแดงสด ไมเกรน หรือพบก้อนเนื้อบริเวณคอ จะต้องรีบไปตรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งโพรงจมูก จะต้องคอยใส่ใจเมื่อจมูกและคอของตนเองนั้นมีการเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อย หรือพบอะไรผิดสังเกตต้องรีบไปตรวจทันที

  ตุลาคมปีที่แล้ว นายหวงได้มาทำเรื่องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลมะเร็งฟูด้าในสังกัดของมหาวิทยาลัยจี้หนาน หลังจากได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ ตัดสินใจเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการอยที่แทรกแซงน้สุดคีโมเฉพาะจุดและการฉายแสง ศ. เจินจงยวนกล่าวว่า นายหวงมีอาการหูอื้อ เนื่องจากก้อนมะเร็งได้ไปเบียดท่อยูสเตเชียน เนื้องอกของนายหวงมีขนาด 3.0*1.8 ซม. ต้องให้เคมีเฉพาะที่เพื่อลดขนาดของเนื้องอกให้เล็กลง และค่อยทำการฉายรังสีรักษา เพื่อทำการกำจัดก้อนเนื้อ

  

_鼻咽癌患者黄生.png


  ในเดือนมีนาคมนี้ นายหวงได้เดินทางกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งที่โรงพยาบาล พบว่าอาการป่วยได้อยู่ในการควบคุมแล้ว หลังประสบความสำเร็จในการรักษา นายหวงกล่าวด้วยความประทับใจว่า “ขอบคุณโรงพยาบาลฟูด้าที่ใส่ใจดูแลรักษาอย่างดีให้กับผม”

  ศ. เจิงจงยวนกล่าวว่า “ปกติแล้ว มะเร็งโพงจมูกไม่แนะนำให้ผ่าตัด” เนื่องจากมะเร็งโพรงจมูกมักจะอยู่ในตำแหน่งที่ซับซ้อน ขอบเขตไม่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถผ่าตัดบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของมะเร็งโพรงจมูกแม้เพียง 3 ซม. อยู่ใต้ฐานของกระโหลกศรีษะ ด้านหลังเป็นกระดูกสันหลังส่วนคอ ด้านบนเป็นฐานกระโหลกศีรษะ ด้านข้างทั้งสองมีเส้นเลือดใหญ่ เส้นเลือดดำ และต่อมน้ำเหลือง โดยรอบมีเส้นประสาทสมอง “สภาพเช่นนี้ ไม่เหมาะสมที่จะใช้วิธีการผ่าตัด เพราะเสี่ยงจะทำให้ส่วนอื่นๆได้รับความเสียหายไปด้วย ”

  มะเร็งโพรงจมูกนั้นมีการเติบโตที่รวดเร็ว สามารถกัดกินไปจนถึงช่องโพรงกระโหลกส่วนกลางในช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้เส้นประสาทสมองเสียหาย และมีโอกาสมากกว่า 70 % ในการแพร่กระจายไปหาต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งระยะกลางและระยะสุดท้ายแล้ว ซึ่งนับว่าแทบจะไม่มีโอกาสที่จะผ่าตัดได้แล้ว

  สำหรับวิธีการรักษาโรคมะเร็งโพรงจมูกนั้น ขั้นแรกคือการฉายแสง ศ.เจิงจงยวนแนะนำว่า มะเร็งโพรงจมูกจะมีความไวต่อการฉายแสง ได้ผลน่าพอใจเป็นมาก การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นหลักเกณฑ์การรักษาที่ถือเป็นเบื้องต้นการรักษา การฉายแสงสำหรับโรคมะเร็งโพรงจมูกนั้นมีโอกาสรอดและมีชีวิตอยู่ต่อได้มากกว่า 5 ปีมากกว่า 50 % ถ้าเป็นระยะแรกมีโอกาสมากถึง 70 – 80 % เลยทีเดียว อาจถึงขั้นหายขาดได้           

  


fuda30_489198.png



  ปรึกษาโรคมะเร็ง

  หากคุณต้องการทราบว่าผู้ป่วยเหมาะสำหรับการรักษาแบบบาดแผลเล็กหรือไม่ (การรักษาด้วยความเย็น  การรักษาด้วยมีดนาโน  การรักษาเฉพาะจุดแบบอุดตันเส้นเลือด ฯลฯ) และค่าใช้จ่ายในการรักษา  กรุณากรอกข้อมูลผู้ป่วย เพื่อรับคำแนะนำจากทีมแพทย์มะเร็งผู้เชี่ยวชาญของเรา


รับคำแนะนำจากแพทย์

  

  • โรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ
  • โรงพยาบาลมะเร็งที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI ระดับนานาชาติ
  • ศูนย์ฝึกอบรมการรักษาด้วยความเย็นแห่งเอเชีย
  • ศูนย์ชีวการแพทย์กว่างโจวสถาบันวิทยาศาสตร์จีนและเวชศาสตร์ปริวรรตสถาบันสุขภาพ