• ปรึกษาหมอมะเร็งฟรี
  • วิธีการรักษาแบบใหม่
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • เรื่องราวของผู้ป่วย
หน้าหลัก / วิธีการรักษาพิเศษ

การรักษาด้วยแสงจำเพาะ (Photodynamic Therapy, PDT)

None

Author:NoneFrom:FUDA

  การรักษาด้วยแสงจำเพาะ (Photodynamic Therapy, PDT) คือ ปฏิกิริยาเคมีของแสงเลเซอร์ หรือเรียกว่าการรักษาด้วยเลเซอร์หรือการรักษาด้วยเลเซอร์ร่วมเคมี โดยมีหลักการพื้นฐานคือ ใช้สารเร่งปฏิกิริยาไวต่อแสงใส่ไปยังเซลล์เป้าหมายที่สามารถดูดซับสารชนิดนี้ได้ดี (การฉีดสารเร่งปฏิกิริยาไวต่อแสงผ่านหลอดเลือดดำ เนื้อเยื่อมะเร็งจะดูดซับสารชนิดนี้ได้ดี แต่เนื้อเยื่อปกติจะดูดซับสารชนิดนี้ได้น้อย) หลังจากนั้นใช้เลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นเฉพาะ ฉายไปยังบริเวณที่มีก้อนเนื้อมะเร็ง สารเร่งปฏิกิริยาไวต่อแสงที่ได้รับพลังงานโฟตอน อิเล็กตอนจะถูกกระตุ้น สารเร่งปฏิกิริยาไวต่อแสงจะถ่ายโอนพลังงานไปยังออกซิเจน สร้างอนุมูลอิสระอนุพันธ์ออกซิเจนที่ว่องไว (radical oxygen species, ROS) อนุมูลอิสระอนุพันธ์ออกซิเจนที่ว่องไวจะโจมตีโครงสร้างของเซลล์ผ่านทางออกซิเดชัน ซึ่งจะเกิดความเสียหายที่เยื่อหุ้มเซลล์หรือโปรตีนออกซิเดชัน เมื่อความเสียหายของออกซิเดชันสะสมเกินเกณฑ์ที่กำหนด เซลล์เป้าหมายก็จะตายลง

  องค์ประกอบ 3 อย่างในการรักษาด้วยแสงจำเพาะ

  1. สารเร่งปฏิกิริยาไวต่อแสง: ปฏิกิริยาของแสงจำเพาะ การดูดซับแสงและการกำหนดลักษณะเป้าหมาย เป็นตัวกำหนดการใช้งานทางการแพทย์และขอบเขตการรักษา

  2. แสงเลเซอร์:ความยาวคลื่นถูกต้อง เสถียรภาพและการแสงเลเซอร์เป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพในการรักษา

  3. ออกซิเจน

  กลไกการทำงานและลักษณะพิเศษทางการแพทย์

  n  หากใช้ในปริมาณตามคำแนะนำของหลักการแพทย์ สารเร่งปฎิกิริยาไวต่อแสงนั้นไม่เป็นพิษต่อเซลล์ เพียงแค่การดูดซับพลังงานจากโฟตอนในการเพิ่มโมเลกุลภายใต้การทำงานร่วมกับออกซิเจนเท่านั้นที่ทำให้เป็นพิษต่อเซลล์

  n  การฉายแสงเลเซอร์ด้วยความยาวคลื่นเฉพาะทำให้เนื้อเยื่อที่ดูดซับสารเร่งปฎิกิริยาไวต่อแสงนั้นถูกกระตุ้น และสารเร่งปฏิกิริยาไวต่อแสงที่ถูกกระตุ้นนั้นจะถ่ายโอนพลังงานไปยังออกซิเจนโดยรอบ และสร้างโมเลกุลออกซิเจนที่ไม่มีอนุมูลหรืออิเลคตรอนเดี่ยว (Singlet oxygen) ที่มีปฏิกิยาสูง

  n  โมเลกุลออกซิเจนที่ไม่มีอนุมูลหรืออิเลคตรอนเดี่ยวและโมเลกุลใหญ่ที่อยู่ติดกันหลายตัวจะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้โครงสร้างต่างๆของเซลล์ เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ ไทโทคอนเดรีย ไซโซโซมเกิดความเสียหายแบบไม่สามารถซ่อมแซมได้ ซึ่งจะทำให้เซลล์ตายลงในที่สุด

  n  หลังจากฉีดสารเร่งปฏิกิริยาไวต่อแสงเข้ายังร่างกายผู้ป่วย ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่เป็นมะเร็งจะเกิดการสะสมของสารดังกล่าวในปริมาณมาก โดยเฉพาะบริเวณผิวของเส้นเลือดที่เกิดใหม่ของการแพร่กระจายของเนื้อเยื่อมะเร็ง ดังนั้นความเสียหายของเส้นเลือดที่เกิดจากการรักษาด้วยแสงจำเพาะจะทำให้เนื้อเยื่อมะเร็งขาดเลือดและขาดออกซิเจน การมีบทบาทสำคัญในการรักษาทางการแพทย์ของการรักษาด้วยแสงจำเพาะนั้นสามารถแสดงให้เห็นความสามารถในการกำจัดและทำลายเซลล์มะเร็งของการรักษาด้วยแสงจำเพาะได้

  n  ความสามารถในการกำหนดเป้าหมายโดยการดูดซับสารก่อปฏิกิริยาไวต่อแสงของเซลล์มะเร็งกับการฉายแสงเลเซอร์ตรงบริเวณเนื้อเยื่อมะเร็งนั้นทำให้เกิดสองทางเลือกของการรักษาด้วยแสงจำเพาะ (การเลือกตัวยาและการเลือกแสง)

  แผนภาพการรักษา

  

fuda26_993142.jpg


  ข้อดี

  1.สามารถเลือกหรือจำเพาะเซลล์มะเร็งได้ดี

  2.สามารถใช้รักษากับเนื้องอกที่มีลักษณะแข็ง

  3. สำหรับผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งปอดในระยะแรกมีเปอร์เซนต์การรักษาหาย 90% สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีโอกาสรักษาอาการให้ดีขึ้น 70 % ขึ้นไป

  4. ไม่เป็นพิษ ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันไขกระดูก

  5. ไม่ส่งผลกระทบต่อการรักษาอย่างอื่น สามารถทำร่วมกับการผ่าตัด ฉายแสง หรือให้คีโมได้

  6.ระยะเวลาการรักษาสั้น

  7. สามารถเห็นผลได้ใน 48-72 ชั่วโมง

  การใช้ทางการแพทย์

  - มะเร็งในช่องปาก:อัตราการรักษาโรคมะเร็งในช่องปาก มะเร็งโพรงจมูกของการรักษาด้วยแสงจำเพาะอยู่ที่ 75%-100%

  - มะเร็งหลอดอาหาร:รักษามะเร็งระยะแรกได้หายขาดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่แพร่กระจาย สามารถช่วยลดโอกาสการอุดตันของหลอดอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้การรักษาผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหาร และใช้ในการรักษาเมือกที่แผร่กระจายในมะเร็งหลอดอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับโรคมะเร็งหลอดอาหารที่มีเนื้องอกเกิดขึ้นบริเวณโพรง หรือได้ทำการใส่ลวดขยาย (stent) สามารถใช้การรักษาด้วยแสงจำเพาะในการกำจัดก้อนเนื้อได้

  - ภาวะที่เยื่อบุหลอดอาหารถูกแทนที่ด้วยเยื่อบุที่คล้ายเยื่อบุกระเพาะอาหาร (Barrett's esophagus): ไม่เพียงแต่ช่วยในการรักษาภาวะ Barrett's esophagus ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังสามารถป้องกันการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้อีกด้วย

  - มะเร็งปอด:สำหรับผู้ป่วยมะเร็งหลอดลมในระยะแรกมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ถึง 90% สำหรับผู้ป่วยมะเร็งหลอดลมที่มีการแพร่กระจายหรือภาวะหลอดลมอุดตันสามารถใช้การรักษาด้วยแสงจำเพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 85%

  - มะเร็งกระเพาะอาหาร:สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารระยะแรกมีอัตราการรักษาหายขาด 85% และสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารระยะแพร่กระจายอาการดีขึ้น

  - มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ:สามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะแรกได้หายขาด สำหรับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะแพร่กระจายจะมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 71%

  - โรคมะเร็งอื่นๆที่สามารถใช้การรักษาด้วยแสงจำเพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ: มะเร็งลำไส้ตรง มะเร็งท่อน้ำดี และยังเหมาะสมที่จะใช้ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดีที่บริเวณขั้วตับ มะเร็งตับอ่อน Ampulla carcinomaมะเร็งในช่องท้อง มะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้อง มะเร็งตับ มะเร็งสมอง และมะเร็งบริเวณระบบทางเดินปัสสาวะ

  ผลค้างเคียงของการรักษาด้วยแสงจำเพาะ

  n  เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบดั้งเดิม (การผ่าตัด ให้คีโมและฉายแสง) การรักษาด้วยแสงจำเพาะจะสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะและเนื้อเยื่ยทั่วไปเพียงแค่เล็กน้อย

  n  การรักษาด้วยแสงจำเพาะไม่มีผลข้างเคียงทีรุนแรงต่อหัวใจ ตับ ไต เส้นประสาท

  n  หลังจากการรักษาด้วยแสงจำเพาะ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงแสงเป็นเวลาหลายสัปหาด์ ในช่วงเวลาที่หลบแสงนั้นแสงจ้าหรือแสงแดดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่บริเวณผิวหนัง (มีอาการแดง เจ็วปวด หรือผิวอักเสบเป็นต้น) ซึ่งสามารถใช้ฮอร์โมนควบคุมอาการอักเสบได้

  ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ต้องหลีกเลี่ยงแสงหลังเข้ารับการรักษาด้วยแสงจำเพาะ

  วันที่ 1

  หลังจากเข้ารับการรักษาด้วยแสงจำเพาะ ผิวหนังและดวงตาของผู้ป่วยจะไวต่อแสงแดดได้ง่าย จึงมีความจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรง ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้:

  A. อยู่ในห้องที่มีม่านกันแสง หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรง

  B. ใช้หลอดไฟขนาด 60 วัตต์เท่านั้น (หลอดไฟประหยัดพลังงาน 11 วัตต์) หรือหลอดไฟที่มีขนาดน้อยกว่า 60 วัตต์

  C. ผู้ป่วยสามารถดูโทรศัทน์ได้ แต่ระยะปลอดภัยจะอยู่ที่ระยะห่าง 2 เมตรขึ้นไป และต้องสวมแว่นกันแดด

  D. คนไข้ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้

  วันที่ 2-7  ผิวหนังและดวงตาของผู้ป่วยยังคงอยู่ในช่วงไวต่อแสง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสวมแว่นกันแดด และปฎิบัติตามแนวทางต่อไปนี้:

  A. ค่อยๆเพิ่มแสงสว่างภายในห้อง ในช่วงเวลานี้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตกับแสงธรรมชาติตามปกติได้อย่างช้าๆ

  B. ในช่วงเวลากลางวันควรพักอยู่ในห้อง และหลีกเลี่ยงการนั่งที่บริเวณใกล้หน้าต่าง ตอนกลางคืนสามารถออกไปทำกิจกรรมด้านนอกได้

  C. ยังคงต้องพยายามหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรง หากมีความจำเป็นต้องออกไปด้านนอก ควรสวมแว่นกันแดด กลางร่ม และใช้ผ้าที่มีความหนาปกปิดร่างกาย

  D. หากผู้ป่วยไม่ระมัดระวังและถูกแสงแดดโดยตรง จะมีอาการแสบร้อน ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยทันที และปรึกษาแพทย์

  วันที่ 8-14

  หลังจากวันที่ 8 เป็นต้นไป ผิวหนังของคนไข้จะยังคงมีความไวต่อแสง คนไข้ยังคงต้องหลีกเลี่ยงการถูกแสงโดยตรงหรือแสงในที่ร่มที่มีความสว่างสูง คนไข้สามารถออกไปด้านนอกได้เป็นระยะเวลาสั้นๆ (ประมาณ 10-15 นาที) แต่ยังคงต้องสวมเสื้อผ้าแขนยาวขายาวเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด และต้องทำกิจกรรมในร่ม หากผิวของคนไข้ไม่เกิดอาการแดง เผาไหม้หรือพอง สามารถค่อยๆเพิ่มระยะเวลาในการทำกิจกรรมด้านนอกได้ ผิวบริเวณมือและใบหน้าจะไม่สามารถถูกแสงแดดได้มากเกินไป หากผิวเกิดอาการแดง ไหม้หรือพอง จะต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที และไม่สามารถเพิ่มระยะเวลาการทำกิจกรรมด้านนอกได้จนกว่าอาการดังกล่าวจะหายไป

  วันที่ 15 เป็นต้นไป

  ความไวต่อแสงของผิวหนังคนไข้จะค่อยๆกลับเข้าสู่ภาวะปกติ จะค่อยๆสามารถถูกแสงที่มีความสว่างสูงหรือแสงแดดโดยตรงได้อย่างช้าๆ และค่อยๆกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

  คนไข้สามารถทดลองปล่อยมือให้โดนแสงแดดโดยตรงเป็นเวลา 5 นาที และติดตามดูสถานการณ์ว่าภายใน 24 ว่ามีอาการใดๆเกิดขึ้นหรือไม่ และค่อยๆเพิ่มจำนวนครั้งและระยะเวลามากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีอาการใดๆเกิดขึ้น สามารถทดลองปล่อยให้ผิวถูกแสงแดดโดยตรงได้เป็นเวลา 15 นาที หากไม่มีปัญหาใดๆ จากนั้นค่อยเพิ่มเวลาให้มากขึ้นในแต่ละวัน แต่ละครั้งควรเพิ่มประมาณ 15 นาที

  ครีมกันแดดไม่สามารถปกป้องความไวต่อแสงของผู้ป่วยได้ ดังนั้นจึงห้ามทำการอาบแดดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน และหลีกเลี่ยงการตรวจสายตาด้วยการลืมตาในแสงจ้าเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน

  


  





การรักษาที่กำลังนิย
  • การรักษาด้วยการให้ยาผ่านทางเส้นเลือด..

  • การรักษาด้วยความเย็น (Cryosurgical Ablation, CSA)..

  • การรักษาด้วยมีดนาโน (IRE)..

  • การรักษาด้วยคลื่นไมโครเวฟ..

  • การรักษาด้วยแสงจำเพาะ (Photodynamic Therapy, PDT)..

  • การรักษาโดยสร้างภูมิคุ้มกันแบบองค์รวม..

  • การรักษาด้วยเครื่องอบความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟ..

  • โรงพยาบาลมะเร็งเฉพาะทางแห่งชาติ
  • โรงพยาบาลมะเร็งที่ได้รับรองมาตรฐาน JCI ระดับนานาชาติ
  • ศูนย์ฝึกอบรมการรักษาด้วยความเย็นแห่งเอเชีย
  • ศูนย์ชีวการแพทย์กว่างโจวสถาบันวิทยาศาสตร์จีนและเวชศาสตร์ปริวรรตสถาบันสุขภาพ